โพสต์ที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

AL: AL

AL: นิติบุคล

นิติบุคคล

นิติบุคคล คือ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เป็นบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ใช่ บุคคลธรรมดา และให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542) สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ เป็นโจทก์หรือจำเลยได้ รวมทั้งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ฯลฯ

นิติบุคคล จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่ออาศัยอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น คือจะตั้งก่อขึ้นโดยไม่มีกฎหมายมารองรับหรือไม่มีกฎหมายให้อำนาจในการจัด ตั้งไว้ไม่ได้ ซึ่งบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 65 ซึ่งบัญญัติไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น

1.อาศัย อำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ หมายถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั่นเอง ซึ่งมีบัญญัติไว้หลายประเภท เช่น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหากได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ให้ถือว่าเป็นนิติบุคคล(มาตรา 1015) ได้แก่ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือสมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วถือเป็นนิติบุคคล(มาตรา 83) มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้ว(มาตรา 122)

2.อาศัย อำนาจตามกฎหมายอื่นๆ คือ กฎหมายที่นอกเหนือจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 มาตรา 18 กำหนดให้สหกรณ์ที่จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 5 กำหนดให้มัสยิดซึ่งได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเป็นนิติบุคคล ฯลฯ

นิติบุคคล แต่ละประเภทจะมีลักษณะและการดำเนินกิจการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทก็จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจการและหวังผลกำไรมาแบ่ง ปันกัน สมาคมก็จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการใดๆอันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและไม่มี การหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ฯลฯ เมื่อกลุ่มบุคคลหรือองค์กรใดๆที่จัดตั้งขึ้นมีสถานะเป็นนิติบุคคลแล้ว ย่อมถือเกิดเป็นบุคคลตามกฎหมายขึ้นมาต่างหาก มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆได้ในนามของนิติบุคคลนั้นๆ

ตัวอย่าง นาย ก นาย ข และนาย ค รวมหุ้นกันตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ดำเนินกิจการขายอุปกรณ์ก่อสร้าง โดยใช้ชื่อว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญยิ่ง เช่นนี้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญยิ่งถือเป็นบุคคลตามกฎหมาย มีสิทธิต่างๆได้ในนามของห้าง ไม่ต้องไปใช้นามของหุ้นส่วนแทนในการดำเนินกิจการใดๆของห้าง เช่น หากห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญยิ่งทำสัญญาซื้อขายอุปกรณ์ก่อสร้างกับนาย ง ถือว่า คู่สัญญาซื้อขายนี้คือห้างหุ้นส่วนจำกัดกับนาย ง ไม่ใช่ นาย ก นาย ข และนาย ค เป็นคู่สัญญาซื้อขาย ถ้ามีการผิดสัญญาเกิดขึ้นก็ต้องฟ้องในนามของห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยให้ตัวแทน ของห้างดำเนินการ คือห้างมีฐานะเป็นโจทก์ได้ หรือในทางกลับกันถ้าห้างหุ้นส่วนจำกัดผิดสัญญา นาย ง ก็จะต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลย ไม่ใช่ฟ้องนาย ก นาย ข และนาย ค เป็นจำเลย เป็นต้น

1.สิทธิหน้าที่ของนิติบุคคล

สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลแบ่งเป็น 2 ประการ คือ

1.สิทธิและหน้าที่ภายในขอบอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ ซึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 66 บัญญัติว่า นิติบุคคล ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งคือ นิติบุคคลจะมีสิทธิและหน้าที่ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งกำหนดไว้เท่านั้น เช่น สมาคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการกีฬาก็จะไปดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องการ เมืองไม่ได้ ฯลฯ

ข้อสังเกต ตราสารจัดตั้งจะมีการระบุวัตถุประสงค์หรือลักษณะของกิจการของนิติบุคคลนั้นๆไว้

2.สิทธิและหน้าที่ซึ่งว่าโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 67 บัญญัติว่า ภาย ใต้บังคับมาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดย สภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้นคือมี สิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เช่น สิทธิในการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองไม่ให้ใครมาทำละเมิด หน้าที่ในการเสียภาษี ฯลฯ เว้นแต่สิทธิหน้าที่บางประการที่มีได้เฉพาะในบุคคลธรรมดาเท่านั้น การสมรส การรับราชการทหาร สิทธิทางการเมือง ฯลฯ

2.การจัดการนิติบุคคล

เนื่อง จากนิติบุคคลเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้นตามกฎหมาย ไม่มีชีวิตจิตใจ ไม่อาจแสดงเจตนาหรือกระทำการใดๆด้วยตนเองได้ จึงต้องมีผู้แทนคอยดำเนินการให้ ตามมาตรา 70 วรรคสอง บัญญัติว่า ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล

ผู้ แทนนิติบุคคลอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งจะกำหนดไว้(มาตรา 70 วรรคแรก) อีกทั้งมีอำนาจหน้าที่ตามกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งเช่นกัน การดำเนินการของผู้แทนจะต้องกระทำไปภายในขอบเขตของวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล นั้นเท่านั้นจึงจะมีผลผูกพันนิติบุคคล หรือกรณีที่การกระทำของผู้แทนภายใต้ขอบวัตถุประสงค์ของทำละเมิดแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกด้วยเมื่อได้รับผิดแล้วกฎหมายให้ สิทธิไปไล่เบี้ยเอาแก่ผู้แทนได้(มาตรา 76) ฯลฯ ส่วนความเกี่ยวพันตามกฎหมายระหว่างผู้แทนกับนิติบุคคล ระหว่างผู้แทนกับบุคลภายนอกหรือระหว่างนิติบุคคลกับบุคคลภายนอกนั้นให้นำ กฎหมายว่าด้วยตัวการตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลม(ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดใน ภายหลัง) เช่น ถ้าเป็นเรื่องผู้แทนกระทำโดยนอกขอบวัตถุประสงค์ กระทำโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจผู้แทนต้องรับผิดโดยลำพัง ไม่ผูกพันห้าง หรือถ้าการกระทำนอกเหนือขอบวัตถุประสงค์ก่อให้เกิดการละเมิดหรือเป็นการทำ ละเมิดโดยส่วนตัว นิติบุคคลไม่ต้องรับผิด ฯลฯ

3.การสิ้นสภาพของนิติบุคคล

การ สิ้นสภาพบุคคลของนิติบุคคล คือการที่นิติบุคคลนั้นไม่อาจดำรงความเป็นนิติบุคคลนั้นต่อไปได้ มีผลทำให้สิทธิและหน้าที่ต่างๆของนิติบุคลนั้นเป็นอันหมดสิ้นและไม่ถือเป็น บุคคลตามกฎหมายต่อไป นิติบุคคลนั้นถือเป็นบุคคลที่กฎหมายสมมติขึ้น ไม่มีชีวิตจิตใจเช่นบุคคลธรรมดา ไม่อาจสิ้นสภาพบุคคลโดยอาศัยการตายหรือสาบสูญได้ แต่อย่างไรก็ดี นิติบุคคลอาจสิ้นสภาพด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

1.สิ้น สภาพตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง เช่น กำหนดไว้ในตราสารจัดตั้งว่าจะดำเนินการจนกว่าจะครบ 5 ปี เมื่อครบ 5 ปีแล้วนิติบุคคลนั้นย่อมสิ้นสภาพไป

2.โดยสมาชิกตกลงเลิก คือการที่สมาชิกยินยอมร่วมกันที่จะทำการเลิกนิติบุคคลนั้น

3.โดย ผลของกฎหมาย คือมีกฎหมายกำหนดไว้ว่านิติบุคคลย่อมเลิกกันเมื่อเกิดเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ขึ้น เช่น กฎหมายกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเลิกกันเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใด คนหนึ่งตายหรือล้มละลาย(มาตรา 1055) หรือเมื่อห้างหุ้นส่วนนั้นล้มละลาย(มาตรา 1069)

4.โดยคำสั่งศาล เช่น ศาลอาจสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญได้ ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนร้องขอ(มาตรา 1057)

หมายเหตุ มาตราต่างๆที่อ้างอิงมาทั้งหมดนั้นจะอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสีย เป็นส่วนใหญ่ กฎหมายที่ไม่ได้อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้รวบรวมจะบอกกำกับไว้ ต่างหาก

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

AL: AL

AL: AL กฎหมายพิเศษ


ข้อเท็จจริงและประเด็นคำถาม:

ข้อเท็จจริง เมื่อประมาณ 11 ปีก่อน ทารกแรกเกิดคนหนึ่งถูกแม่ทอดทิ้งไว้ในห้องแถว เพื่อนบ้านที่อยู่ห้องแถวใกล้เคียงจึงเก็บมาเลี้ยง แต่เนื่องจากในขณะนั้นผู้ที่เก็บมาเลี้ยงยังไม่มีสัญชาติไทยจึงไม่กล้าที่จะ ไปแจ้งความหรือแจ้งเกิดให้กับเด็กคนนี้ ปัจจุบันคนที่เก็บเด็กมาเลี้ยงสามีได้สัญชาติไทยแล้ว แต่ภรรยายังไม่ได้สัญชาติไทย ส่วนเด็กคนนี้เรียนอยู่ชั้น ป.5 แล้ว แต่ยังไม่มีสถานะทางทะเบียนใดๆ เลย และเด็กไม่มีเอกสารหลักฐานการเกิดใดๆ เลย ส่วนพยานบุคคลที่จะบอกว่าเด็กคนนี้เป็นลูกใครนั้นยังหาไม่พบ และเนื่องจากห้องแถวเดิมนั้นถูกแปรสภาพไปแล้วพยานบุคคลที่อยู่ร่วมกับ เหตุการณ์ที่สามารถบอกได้ว่าสามีภรรยาคู่นี้เป็นคนเก็บเด็กมาเลี้ยงจึงยังหา ไม่พบเช่นกัน

ประเด็นคำถาม

  1. จะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เด็กมีสถานะทางทะเบียน
  2. เด็กจะมีโอกาสได้สัญชาติไทยหรือไม่
ความเห็นและข้อเสนอแนะ:

ข้อกฎหมาย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 19/1 เด็กที่ไม่ปรากฏบุพการี ถ้าเด็กยังไม่แจ้งการเกิดและไม่มีรายการบุคคลในทะเบียนบ้านให้หัวหน้านหน่วย งานที่อุปการะเด็กเป็นผู้แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ และให้นายทะเบียนออกใบรับแจ้ง, มาตรา 19/2 การพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง กรณีไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติได้ ให้นายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนประวัติและออกเอกสารแสดงตนให้เด็กไว้เป็น หลักฐาน, มาตรา 20 เมื่อมีการแจ้งการเกิด ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรเป็นหลักฐานแก่ผู้ แจ้ง, กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กซึ่งถูกทอด ทิ้ง เด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้ง พ.ศ. 2551 ข้อ 2 ให้นายทะเบียนออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งพร้อมทั้งเรียกตรวจหลักฐานจากผู้ แจ้งและสอบสวนพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของ เด็กที่แจ้งการเกิด ทั้งพยานหลักฐาน ได้แก่ บันทึกการรับตัวเด็กที่จัดทำโดยเจ้าพนักงาน หลักฐานการรับตัวเด็กของหน่วยงาน รูปถ่ายเด็ก หลักฐานอื่น ๆ พยานบุคคล ได้แก่ ผู้แจ้งการเกิด เด็กที่ขอแจ้งการเกิด ผู้รู้เห็นการเกิดของเด็ก หรือบุคคลที่เด็กเคยอาศัยอยู่, พ.ร.บ.สัญชาติฯ มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดา ของผู้นั้นเป็นผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็น กรณีพิเศษเฉพาะราย หรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคน เข้าเมือง

การดำเนินการให้คำปรึกษา/ให้ความช่วยเหลือ

จากข้อเท็จจริงที่ได้รับมานั้น เด็กคนดังกล่าวเป็นเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการี คือ เด็กที่ไม่สามารถสืบหาบิดามารดาหรือญาติทางสายโลหิต ซึ่งตามกฎหมายแล้วต้องให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่ขึ้นทะเบียน เป็นสถานอุปการะเด็กเป็นผู้ทำหน้าที่อุปการะเด็ก บุคคลทั่วไปไม่มีสิทธิในการอุปการะเด็กโดยพลการ นอกจากนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรกำหนดให้มีเพียงเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานที่อุปการะเด็กเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิแจ้งการเกิดและแจ้งขอพิสูจน์ สัญชาติเด็ก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้อุปการะเด็กเป็นบุคคลทั่วไป ผู้อุปการะเด็กจึงไม่มีสิทธิในการแจ้งเกิดเด็กและแจ้งขอพิสูจน์สัญชาติ

ดังนั้นจึงแนะนำว่า ให้ผู้อุปการะเด็กพร้อมพยานที่ยืนยันได้ว่าเด็กเป็นผู้ถูกทอดทิ้งดำเนิน การพาเด็กไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในท้องที่ที่พบตัว เด็ก เมื่อเจ้าพนักงานได้รับตัวเด็กไว้แล้ว เด็กจะถูกส่งตัวเข้าไปในสถานรับอุปการะเด็ก หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานรับอุปการะจะต้องดำเนินการแจ้งเกิดเด็กคนดัง กล่าว เมื่อมีการแจ้งเกิดแล้วนายทะเบียนจะรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรเป็นหลัก ฐานแก่ผู้แจ้ง ในขั้นตอนเดียวกันนี้จะต้องมีการพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กตาม ขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กซึ่งถูกทอด ทิ้ง เด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้ง พ.ศ. 2551เมื่อพิสูจน์แล้วเห็นว่าเด็กคนดังกล่าวมีสัญชาติไทย เด็กก็จะเป็นผู้มีสถานะทางทะเบียนตามกฎหมายไทยและได้รับการรับรองสัญชาติไทย แต่หากพิสูจน์แล้วพบว่าเด็กไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้สัญชาติไทย คือ เกิดจากบิดาและมารดาที่เป็นคนต่างด้าวที่มีพฤติการณ์ตามที่ปรากฏใน พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 7 ทวิ เด็กย่อมได้รับเพียงสถานะทางทะเบียน แต่การจะได้สัญชาติก็ต้องดำเนินการขอแปลงสัญชาติในภายหลัง

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่แนะนำนี้ เด็กก็จะได้รับสถานะทางทะเบียน และอาจได้สัญชาติไทยทันที แต่เด็กก็จะอยู่ในอุปการะและอยู่ในการปกครองของหน่วยงานที่อุปการะเด็กไป ด้วย หากผู้ที่เคยอุปการะเด็กอยู่เดิมประสงค์จะอุปการะเด็กต่อไป ก็ต้องไปดำเนินการขอรับเด็กคนนี้เป็นบุตรบุญธรรมตามที่กำหนดระเบียบขั้นตอน ไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

ทั้งนี้ หากท่านยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการขอรับสถานะทางทะเบียนและ พิสูจน์สัญชาติของเด็ก ท่านสามารถติดต่อสายด่วนกรมการปกครอง 1548 โดยเลือกติดต่อเจ้าหน้าที่

AL

AL


หมวด ๑๑ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ : ร่างรัฐธรรมนูญ 2550

หมวด ๑๑
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนที่ ๑
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

๑. คณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา ๒๒๔ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง
และกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความเป็น
กลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการ
และกรรมการตามวรรคหนึ่ง

มาตรา ๒๒๕ กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่าสี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
(๓) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๑ (๑) (๔) (๕) และ (๖)
(๔) ไม่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๓ มาใช้บังคับกับกรรมการการเลือกตั้งด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๖ การสรรหาและการเลือกประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง
ให้ดำเนินการดังนี้
(๑) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้งจำนวนห้าคน ซึ่งประกอบด้วย
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร เป็นกรรมการทำหน้าที่สรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๒๕ ซึ่งสมควร
เป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวนสามคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อมความยินยอม
ของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น มติในการสรรหาดังกล่าวต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของ
จำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ในกรณีที่ไม่มีกรรมการในตำแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการที่เหลืออยู่นั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหา
กรรมการการเลือกตั้งประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่
(๒) ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๒๒๕ ซึ่ง
สมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวนสองคน เสนอต่อประธานวุฒิสภา โดยต้องเสนอพร้อม
ความยินยอมของผู้นั้น
(๓) การสรรหาตาม (๑) และ (๒) ให้กระทำภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่
ทำให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ในกรณีที่มีเหตุที่ทำให้ไม่อาจดำเนินการสรรหา
ได้ภายในเวลาที่กำหนดหรือไม่อาจสรรหาได้ครบจำนวนภายในเวลาที่กำหนดตาม (๑) ให้ที่ประชุม
ใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาสรรหาแทนจนครบจำนวนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ครบกำหนดตาม (๑)
(๔) ให้ประธานวุฒิสภาเรียกประชุมวุฒิสภาเพื่อมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับ
การสรรหาตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ซึ่งต้องกระทำโดยวิธีลงคะแนนลับ
(๕) ในกรณีที่วุฒิสภามีมติไม่เห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาตาม (๑) (๒) หรือ (๓)
ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ประธานวุฒิสภาส่งชื่อผู้ได้รับการสรรหาที่วุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบให้
คณะกรรมการสรรหาตาม (๑) หรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาตาม (๒) หรือ (๓) แล้วแต่กรณี หากคณะ
กรรมการสรรหาหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นด้วยกับมติของวุฒิสภา ให้นำ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

มาใช้บังคับ แล้วแต่กรณี ถ้าคณะกรรมการสรรหาหรือที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ไม่เห็นด้วยกับมติของ
วุฒิสภาและยืนยันด้วยมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการสรรหาหรือด้วยคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสาม
ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา แล้วแต่กรณี ให้ส่งให้ประธานวุฒิสภาเพื่อดำเนินการตาม (๖) ต่อไป
(๖) ให้ผู้ได้รับความเห็นชอบตาม (๔) หรือ (๕) ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่ง
เป็นประธานกรรมการการเลือกตั้ง และแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ และให้ประธานวุฒิสภา
นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป
มาตรา ๒๒๗ กรรมการการเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งเจ็ดปีนับแต่วันที่
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
กรรมการการเลือกตั้งซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติ
หน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการการเลือกตั้งซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๕ (๑) (๒) (๓) (๕) (๖) (๗) และการขาดคุณสมบัติและ
มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๒๕ มาใช้บังคับกับการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้งด้วย
โดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๘ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภา
รวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาว่ากรรมการการเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งขาดคุณสมบัติหรือ
มีลักษณะต้องห้าม หรือกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๒๒๕ และให้ประธานรัฐสภาส่งคำร้องนั้น
ไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคำวินิจฉัยไปยังประธาน
รัฐสภาและประธานกรรมการการเลือกตั้ง
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙๐ มาใช้บังคับกับการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ
การเลือกตั้งด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒๙ ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งตามวาระพร้อมกันทั้งคณะ
ให้ดำเนินการตามมาตรา ๒๒๖ ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง
ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออก
ตามวาระ ให้ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้งกรรมการการเลือกตั้งตามมาตรา ๒๒๖ ให้แล้วเสร็จภายใน
สี่สิบห้าวันนับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว และให้ผู้ได้รับความเห็นชอบอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่าวาระ
ที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

มาตรา ๒๓๐ คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือ
จัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และ
ผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียง
ประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และเป็น
นายทะเบียนพรรคการเมือง
มาตรา ๒๓๑ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ออกประกาศหรือวางระเบียบกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตาม
กฎหมายตามมาตรา ๒๓๐ วรรคสอง รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งและการดำเนินการ
ใด ๆ ของพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อให้เป็นไปโดยสุจริตและ
เที่ยงธรรม และกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการของรัฐในการสนับสนุนให้การเลือกตั้งมีความ
เสมอภาคและมีโอกาสทัดเทียมกันในการหาเสียงเลือกตั้ง
(๒) วางระเบียบเกี่ยวกับข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีขณะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๑๗๗ โดยคำนึงถึงการรักษาประโยชน์
ของรัฐ และคำนึงถึงความสุจริต เที่ยงธรรม ความเสมอภาค และโอกาสทัดเทียมกันในการเลือกตั้ง
(๓) กำหนดมาตรการและการควบคุมการบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมือง
การสนับสนุนทางการเงินโดยรัฐ การใช้จ่ายเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
รวมทั้งการตรวจสอบบัญชีทางการเงินของพรรคการเมืองโดยเปิดเผย และการควบคุมการจ่ายเงิน
หรือรับเงินเพื่อประโยชน์ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
(๔) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็น
ตามกฎหมายตามมาตรา ๒๓๐ วรรคสอง
(๕) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
ที่เกิดขึ้นตามกฎหมายตามมาตรา ๒๓๐ วรรคสอง
(๖) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด
หน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้ง เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการ
ออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(๗) ประกาศผลการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ
(๘) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจเรียกเอกสารหรือ
หลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้ศาล พนักงาน
อัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ดำเนินการเพื่อประโยชน์แห่งการปฏิบัติหน้าที่ การสืบสวน สอบสวน หรือวินิจฉัยชี้ขาด
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือผู้แทน
องค์การเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มอบหมาย
มาตรา ๒๓๒ คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการสืบสวนสอบสวนเพื่อหา
ข้อเท็จจริงโดยพลันเมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองซึ่งมีสมาชิกสมัคร
รับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่ง คัดค้านว่าการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นไปโดย
ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(๒) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าก่อนได้รับเลือกตั้งหรือสรรหาสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ใดได้กระทำการใด ๆ โดย
ไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้งหรือสรรหา หรือได้รับเลือกตั้งหรือสรรหามาโดยไม่สุจริตโดยผล
ของการที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดได้กระทำลงไป โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร
ท้องถิ่น
(๓) ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการออกเสียงประชามติมิได้เป็นไปโดยชอบด้วย
กฎหมาย หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งคัดค้านว่าการออกเสียงประชามติในหน่วยเลือกตั้งใดเป็นไปโดย
ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องพิจารณา
วินิจฉัยสั่งการโดยพลัน
มาตรา ๒๓๓ ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่
หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนการประกาศผลเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้เสียหายมีสิทธิ
ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่ออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งได้
ในกรณีที่ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าควร
ให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เสนอความเห็นต่อศาลฎีกา
เพื่อวินิจฉัย

ในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น การดำเนินการ
ตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ยื่นต่อศาลอุทธรณ์เพื่อวินิจฉัย
มาตรา ๒๓๔ ในระหว่างที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎร หรือประกาศให้มีการออกเสียงประชามติ มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้จับคุมขัง หรือหมาย
เรียกตัวกรรมการการเลือกตั้งไปทำการสอบสวน เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
การเลือกตั้ง หรือในกรณีที่จับในขณะกระทำความผิด
ในกรณีที่มีการจับกรรมการการเลือกตั้งในขณะกระทำความผิด หรือจับ หรือคุมขัง
กรรมการการเลือกตั้งในกรณีอื่น ให้รายงานไปยังประธานกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน และประธาน
กรรมการการเลือกตั้งอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับได้ แต่ถ้าประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ถูกจับหรือ
คุมขัง ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่าที่มีอยู่เป็นผู้ดำเนินการ
๒. ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา ๒๓๕ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนสามคน ซึ่งพระมหากษัตริย์
ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน มีความรอบรู้และ
มีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของ
สาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่ง
เป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธาน
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาและผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ให้เป็นไป
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
มาตรา ๒๓๖ การสรรหาและการเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ให้นำ
บทบัญญัติมาตรา ๒๐๒ และมาตรา ๒๐๓ มาใช้บังคับโดยอนุโลมโดยให้คณะกรรมการสรรหา
ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด
ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๒๓๗ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
(ก) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย
ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการ
ส่วนท้องถิ่น
(ข) การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง
ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความ
เสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจ
หน้าที่ก็ตาม
(ค) การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดย
ไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม
(ง) กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่
ของรัฐตามมาตรา ๒๗๑
(๓) จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา ทั้งนี้
ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย
การใช้อำนาจหน้าที่ตาม (๑) (ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ดำเนินการเมื่อมีการร้องเรียนจากผู้เสียหาย เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครอง
ประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอาจพิจารณาและสอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้
มาตรา ๒๓๘ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือ
ศาลปกครองได้ เมื่อเห็นว่ามีกรณีดังนี้
(๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอ
เรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(๒) กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา ๒๓๗ (๑) (ก) มีปัญหา
เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง
และให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

๓. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
มาตรา ๒๓๙ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประกอบด้วย
ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม
คำแนะนำของวุฒิสภา
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์
สุจริตเป็นที่ประจักษ์และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๑ โดยเคยเป็น
รัฐมนตรี กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือเคย
รับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองอธิบดี หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือนระดับเก้า
หรือดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ ผู้แทนองค์กรเอกชน หรือประกอบวิชาชีพที่มี
องค์กรวิชาชีพตามกฎหมายมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี ซึ่งองค์กรเอกชนหรือองค์กรวิชาชีพนั้น
ให้การรับรองและเสนอชื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหา
การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๐ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๒๐๒ และมาตรา ๒๐๓ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓๖
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธาน
กรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
มาตรา ๒๔๐ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีวาระการดำรง
ตำแหน่งเก้าปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
การพ้นจากตำแหน่ง การสรรหา และการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๕ และมาตรา ๒๐๖ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม

มาตรา ๒๔๑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวน
สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสองหมื่นคน
มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใด
กระทำการขาดความเที่ยงธรรม จงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณ์ที่เป็นการ
เสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง และขอให้วุฒิสภามีมติให้พ้นจาก
ตำแหน่งได้
มติของวุฒิสภาให้กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพ้นจาก
ตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
ของวุฒิสภา
มาตรา ๒๔๒ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของ
ทั้งสองสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา
มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า กรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือ
กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
คำร้องขอตามวรรคหนึ่งต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
กระทำการตามวรรคหนึ่งเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน และให้ยื่นต่อประธานวุฒิสภา เมื่อประธานวุฒิสภา
ได้รับคำร้องแล้วให้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เพื่อพิจารณาพิพากษา
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ถูกกล่าวหา จะปฏิบัติหน้าที่
ในระหว่างนั้นมิได้จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ให้ยกคำร้องดังกล่าว
มาตรา ๒๔๓ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจ
หน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการ
ถอดถอนออกจากตำแหน่งเสนอต่อวุฒิสภาตามมาตรา ๒๖๓
(๒) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเกี่ยวกับการ
ดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมืองตามมาตรา ๒๖๖

(๓) ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือ
ข้าราชการพลเรือนซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่าขึ้นไปร่ำรวยผิดปกติ กระทำ
ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่ง
หน้าที่ในการยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิด
กับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวหรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย เพื่อดำเนินการต่อไปตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
(๔) ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงรวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สิน
และหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา ๒๕๐ และมาตรา ๒๕๕ ตามบัญชีและเอกสารประกอบ
ที่ได้ยื่นไว้
(๕) รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อ
คณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทุกปี และนำรายงานนั้นออกพิมพ์เผยแพร่ต่อไป
(๖) ดำเนินการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๙ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติด้วยโดยอนุโลม
ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและกรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามกฎหมาย
มาตรา ๒๔๔ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
มีหน่วยธุรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เป็นอิสระ และ
มีหน้าที่กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมีเลขาธิการ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธาน
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
การแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและวุฒิสภา
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอิสระ
ในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

๔. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
มาตรา ๒๔๕ การตรวจเงินแผ่นดินให้กระทำโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ที่เป็นอิสระและเป็นกลาง
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและ
กรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญและประสบการณ์
ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่น
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน่วยธุรการของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ที่เป็นอิสระ โดยมีผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่ในการกำกับของประธานกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดิน ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
การสรรหาและการเลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๐ วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา ๒๐๒ และมาตรา ๒๐๓ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓๖
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธาน
กรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
กรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละหกปีนับแต่วันที่
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐาน
เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่อง
เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีอำนาจวินิจฉัยการดำเนินการที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน
การคลัง และการงบประมาณ และให้คดีที่พิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจเงิน
แผ่นดินในเรื่องดังกล่าวเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง
ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินภาครัฐ
โดยเป็นอิสระและเป็นกลาง และอยู่ในการกำกับการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการตรวจเงิน
แผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน

การกำหนดคุณสมบัติและวิธีการเลือกบุคคลซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ
ตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน จะต้องเป็นไปเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และเพื่อให้ได้หลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่
ของบุคคลดังกล่าว
ส่วนที่ ๒
องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ
๑. องค์กรอัยการ
มาตรา ๒๔๖ พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่
ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของ
คณะกรรมการอัยการ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งอัยการสูงสุด
องค์กรอัยการมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ
และการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
พนักงานอัยการต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งหรือกระทำกิจการใด ๆ เช่นเดียวกับ
ที่กำหนดไว้ในเรื่องวินัยหรือลักษณะต้องห้ามของผู้พิพากษาหรือตุลาการ
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๖๔ วรรคแปดและวรรคเก้า และมาตรา ๑๙๘ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
๒. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
มาตรา ๒๔๗ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วยประธานกรรมการ
คนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกหกคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่ง
มีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้อง
คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธาน
กรรมการและกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การถอดถอน และการกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๐ วรรคสาม มาตรา ๒๐๒ มาตรา ๒๐๓ และ
มาตรา ๒๐๕ (๒) มาใช้บังคับโดยอนุโลม เว้นแต่องค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหา
ให้เป็นไปตามมาตรา ๒๓๖
มาตรา ๒๔๘ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำ อันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน หรือไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็น
ภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำ
ดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อ
ดำเนินการต่อไป
(๒) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบ
ตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับ
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
(๓) เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มี
ผู้ร้องเรียนว่า กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดในทางปกครองกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหา
เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
(๔) เสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ ต่อรัฐสภา
หรือคณะรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
(๕) ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
(๖) ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ องค์การเอกชน
และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน
(๗) จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ
และเสนอต่อรัฐสภา
(๘) อำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องคำนึงถึงผลประโยชน์
ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
จากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ รวมทั้งมีอำนาจอื่นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
๓. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มาตรา ๒๔๙ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ให้คำปรึกษา
และข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้อง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
ต้องให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ความเห็นก่อนพิจารณาประกาศใช้
องค์ประกอบ ที่มา อำนาจหน้าที่ และการดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

lumyong

L PIKUL^^

10 คำถามยอดฮิต ในการ สัมภาษณ์งาน




10
คำถาม ที่เค้านิยมจะถามกัน โดยมากที่คุณ ควรจะเตรียมพร้อม เพราะอย่างน้อย ถ้าไม่ได้ คำถามอื่น ก็ยังพอมีคำถามที่เราตอบแล้ว ฟังดูเข้าท่าเข้าทางบ้าง ฉะนั้นคำถามที่คุณ ควรจะรู้ มีดังต่อไปนี้


1.
ทำไมคุณจึงอยากทำงานที่นี่

การ ที่จะทำงานทีไหนก็ตาม ผู้สัมภาษณ์จะต้องถามความเป็นมา ว่าทำไม คุณต้องการ ที่จะทำงาน ในบริษัทของเค้า และคำถามนี้ก็เป็น สิ่งที่คุณควร ทราบ และคุณก็ควรจะรู้ถึงเหตุผลของคุณอย่างแท้จริง ไม่ไช่ตอบไปสุ่มสี่สุ่มห้า เช่นคุณอาจจะตอบว่า

"
ดิฉันมีความสนใจในระบบการทำงานของที่นี่มาก และก็ทราบมาว่า ทางบริษัท ได้เปิดโอกาสให้พนักงานทุกคน ได้แสดงความสามารถ ได้อย่างเต็มที่ค่ะ และดิฉันยังทราบมาอีกว่า ที่บริษัทรับฟังข้อเสนอ ของพนักงานทุกคน และ พร้อมจะแก้ไขถ้าข้อเสนอนั้น จะสามารถ พัฒนา ให้บริษัทให้มีความมั่นคง และหน้าเชื่อถือยิ่งขึ้นค่ะ"

2.
ทำไมคุณถึงออกจากงานที่เคยทำอยู่
คำ ถามนี้จะง่ายมาก สำหรับน้อง ๆ ที่ยังไม่เคยทำงานมาก่อน แต่จะเป็นคำถาม ที่ยากมาก สำหรับคนที่เคย มีประสบการณ์ ในการทำงานมาแล้ว และเป็น คำถามที่ตรงประเด็น มากเลยทีเดียว เพราะหากคุณพอใจ ต่องานที่ทำอยู่ คุณคงไม่ต้องหางานใหม่ ทำหรอกจริงไหมล่ะ คำถามนี้จึงเป็นคำถาม ที่คุณ ต้องเตรียมตัวอย่างมาก เลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น

"
ผมอยากจะเรียนรู้ ถึงงานสายใหม่ ที่น่าจะเหมาะสมกับตัวผม มากกว่า ที่ผม เคยทำอยู่ครับ และผมคิดว่างานที่นี้ เหมาะสมกับผม และผม พร้อมที่จะทำงาน ตรงนี้มากที่สุด"

และ ที่สำคัญ คุณห้ามนำข้อเสีย ที่คุณได้รู้จาก บริษัทเก่า มาพูดเด็ดขาด เพราะสิ่งนั้น อาจทำให้คะแนน แห่งความเชื่อถือ ของคุณ ลดลงก็ได้

3.
ลองเล่าประวัติของคุณแบบย่อ ๆ

การ ที่จะทำงานร่วมกันได้นั้น สิ่งที่สำคัญ ก็จะเป็นเรี่อง ข้อมูลส่วนตัว ประวัติ ความเป็นมา เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถบ่งบอกถึง นิสัยใจคอของคุณได้ และ สามารถบอกถึง ความเหมาะสม กับงานด้านนี้ของคุณ ในการตอบคำถาม จึงควรอยู่ในแง่ของ การทำงาน บุคลิกภาพส่วนตัว และแง่คิดของชีวิต บ้างนิดหน่อย คุณไม่ควรจะเล่าประวัติชีวิตของคุณให้มากเกินไป เพราะการพูดมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดผลเสียแก่ตัวคุณเอง เช่น

"
ผมเป็นคนเคารพเวลา ไม่ชอบให้ใครรอ เพราะฉะนั้นเวลาในการ ทำงานของผม จะตรงต่อเวลาเสมอ แต่ผมก็มีข้อเสียนะครับ คือเวลา ที่ผมรอใคร แล้วคนคนนั้น ไม่มาสักที ผมก็มักจะควบคุมอารมณ์ ของตัวเอง ไม่ค่อยได้ทั้ง ๆ ที่เหตุผลของเค้า เป็นเหตุผลที่น่าฟังมาก ก็ตาม และตอนนี้ผมกำลังหาวิธี เพื่อแก้ไข ข้อบกพร่องของผมอยู่ครับ"

4.
คุณคิดจะทำอะไรให้กับบริษัทมากที่สุด

คำ ถามนี้จะทำให้คุณบอกถึง ความสามารถของคุณ ที่จะทำให้กับบริษัท ได้มากน้อยแค่ไหน ในการบอกถึงคุณสมบัติ ที่คุณสามารถทำได้นั้น ไม่ถือว่า เป็นการโอ้อวดว่า คุณเก่งแต่อย่างไร แต่สิ่งที่คุณพูดนั้น จะสามารถสร้าง น้ำหนัก ในการตอบคำถามให้แก่คุณได้

5.
จะมีปัญหาอะไรไหมหากต้องทำงานล่วงเวลา

เจอ คำถามนี้เข้า ก็ทำให้อึ้งเอาการ อยู่ทีเดียว ก็แหมใครอยากจะไป ทำงาน ล่วงเวลา หากไม่ได้ อะไรตอบแทนบ้างเลย ฉะนั้นในการตอบคำถามนี้ คุณควรจะกล่าวถึง ความพร้อมเสมอ ในการทำงานล่วงเวลา ถึงแม้ว่า ค่าตอบแทน อาจจะน้อยมาก หรือในการทำงานล่วงเวลา จะไปตรงกับ ตารางนัดสำคัญ กับคนพิเศษของคุณก็ตาม

"
เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ ผมก็พร้อมจะทำงาน ล่วงเวลาเสมอ"

6.
เรื่องทั่ว ๆ ไป

ใน การสัมภาษณ์คุณอาจจะต้องพูดถึง เรื่องปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ข่าวทาง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม และค่านิยม ที่เกิดขึ้นในเวลานั้น เป็นข่าว หนังสือพิมพ์ คำถามนี้จะแสดงให้เห็นว่า คุณให้ความสนใจกับข่าวสาร บ้านเมือง ไม่เป็นคนที่ตกข่าว สามารถพูดคุยได้ทุกเรื่อง ที่เกี่ยวกับ เหตุการณ์ปัจจุบัน การทราบข้อมูลเหล่านี้ อาจทำให้คะแนน การสัมภาษณ์ ของคุณ เพิ่มขึ้นมาก็ได้

7.
ความใฝ่ฝันและโครงการในอนาคต

เป็นการ พิจารณาถึง ความเอาจริงเอาจังของคุณ เพราะหากคุณสามารถบอกถึง ทิศทางในอนาคตได้ นั่นก็แสดงว่าคุณสามารถรับผิดชอบ ในงานที่ได้รับ มอบหมายอย่างดีทีเดียว ก็ขนาดอนาคตที่ไม่มีใคร สามารถรู้ได้ คุณยัง วางแผนสู่อนาคต ได้อย่างเป็นระบบ นั่นก็หมายถึงว่า คุณไม่ได้มีความคิด ย่ำอยู่กับที่จริงไหม

8.
คุณมีงานอดิเรกอะไรไหม

คำถามในข้อ นี้จะเจาะประเด็นว่า คุณรู้จักแบ่งเวลาของคุณ ให้เกิดประโยชน์ มากน้อยแค่ไหน และแสดงให้เห็นถึง บุคลิกของคุณว่า คุณเป็นคนอย่างไร ร่าเริง เปิดเผย หรือเก็บตัว เช่น ถ้าคุณตอบว่า คุณชอบอ่านหนังสือ คุณอาจจะ ถูกถาม ต่อว่า หนังสือเล่มล่าสุดที่คุณอ่าน คือเรื่องอะไร และอาจให้คุณวิจารณ์ ถึงหนังสือเล่มนั้น ในการถามคำถามนี้ ยังสามารถได้รู้ถึง ความละเอียด อ่อนของคุณ การรู้จักสังเกต การมีปฏิภาณไหวพริบ กระทั่ง การใช้ชีวิต ร่วมกับคนอื่น ๆ อีกด้วย

9.
คุณต้องการเงินเดือนเท่าไหร่

เป็น เรื่องที่ยากมาก ในการตอบคำถามนี้ ถ้าหากว่า งานที่คุณไปสมัคร ระบุ เงินเดือนไว้แล้ว ก็เกิดความสบายใจหน่อย แต่ถ้าไม่ได้ระบุถึง อัตรา ค่าจ้างเลย ก็แย่หน่อย ทางที่ดีคุณควรตอบ ตามอัตราเงินเดือน ที่คนทั่วไป ได้รับกัน เช่น อาจจะถามเพื่อน ที่ทำงาน เหมือนกับตำแหน่ง ที่คุณสมัคร หรือตอบตาม เงินเดือนราชการ ที่คุณทราบก็ได้ แต่ถ้าหากผู้สัมภาษณ์ เสนอเงินเดือน มาสูง หรือต่ำกว่า อัตราที่คุณรู้ คุณก็อย่าพึ่งตอบตกลง คุณอาจจะขอเวลาในการ พิจารณาสัก 3 วัน แล้วค่อยให้คำตอบ เพราะถ้า เกิดคุณตอบตกลงไปแล้ว และคุณมาขอขึ้นทีหลังก็เหมือนกับว่า คุณเป็นคนโลเล ไม่น่าเชื่อถือก็ได้

10.
คุณมีข้อสงสัยอะไรอีกไหม

เจอคำถาม นี้ก็บ่งบอกว่า การสัมภาษณ์ได้สิ้นสุดลง แต่ในการตอบคำถาม ข้อสุดท้ายนี้ จะตอบอย่างไรดี ที่จะแสดงว่า เราไม่เป็นคนไม่ฉลาดออกมา เช่น คุณอาจถามย้ำ เรื่องเวลาการทำงานก็ได้

"
ผมอยากทราบเวลา ที่แน่นอน ในการทำงานของผมครับ"

หรือ คุณอาจจะไม่ต้องการถามอะไรก็ได้ เพราะการ ไม่ได้ถามก็เท่ากับว่า คุณได้ทราบข้อมูล ของบริษัทมากพอแล้ว แต่ถ้าเกิด สงสัยจริง ๆ ก็ควรตั้ง คำถามที่ฟังแล้วดูดี และถูกใจนายจ้างของคุณ ให้มากที่สุด


คำถาม ที่พูดมาข้างต้นนี้ดู ดูแล้วไม่ยากเลยใช่ไหม สำหรับการเตรียมตัว ในการ สัมภาษณ์ของคุณ แค่คุณมีความพร้อมกับ 10 คำถามเด็ด ๆ นี้ คุณก็สามารถ ชนะใจ กรรมการ ได้แล้ว อย่างน้อยมันคงมีสักคำถามล่ะ ที่ตรงกับการเตรียมตัวของคุณ และสร้าง ความมั่นใจ ในการตอบคำถามของคุณได้ แล้วอย่าลืมนำไป ปฏิบัติดูนะ เพราะสิ่งนี้ เป็นเส้นทาง ที่จะทำให้คุณสามารถได้รับ คัดเลือกเป็นพนักงาน ในบริษัทที่คุณใฝ่ฝัน ได้อย่างภาคภูมิใจ

การทักทาย (Greeting) ส่วนนี้เป็น part แรกในการสนทนา.

Q : Good morning / afternoon

A : Good morning / afternoon – sir / mam.

Q : How are you today?
How are you doing? **
ทั้งหมดความหมายเดียวกัน ว่า สบายดีไหม**
How do you do?

A : I’m fine / I’m good ..thanks and you?

Q : ก็แล้วแต่เค้าจะตอบ


การสัมภาษณ์ ( interview ) ส่วนนี้เป็นการเข้าเรื่องการสัมภาษณ์

Q : Would you like to tell me about yourself? อยากให้เล่าเกี่ยวกับตัวเอง

A : I was born in …
I graduated from …. In …
ปีที่จบ
Major ….
When I was student. I have experienced sum part time jobs as …. (
ถ้ามี / ถ้าไม่มีข้ามไป)
On my free time. I like to surf net and ….(
งานอดิเรก) เช่น reading, movies, แต่ควรจะเป็น เรื่องที่เกี่ยวข้องกะงานเอาไว้จะดีกว่า ....


Q : Would you like to tell me about your wok experiences?
เล่าการทำงาน

A : After graduated in 2000 (สมมติ) I have got a first job at ….ชื่อบ.
Worked as …
ตำแหน่งงาน
My responsibility are ….
ทำอะไรบ้าง ....

Second job ….งานที่ 2 …

** ให้เล่าอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบตามประสบการณ์ของเรา **

คำถามเพิ่มเติม จากการเล่าประสบการณ์ของเรา Following questions

Q : Do you have a computer skill ? ทักษะคอม
Can you speak other language?
พูดภาษาอื่นได้อีกไหม
Can you use internet?
ใช้อินเตอร์เน็ต
Can you use office material?
เครื่องใช้สำนักงานเป็นไหม
- Yes I can .
Do you stay alone in Bangkok?
อยู่กรุงเทพคนเดียวเหรอ
- Yes / No, with friends,relatives
Do you have sister or brother?
อันนี้โดนเองเลย .. ไม่รู้จะถามทำไม
- Yes,1 sister / No am the only one child.

** คำถามมีอีกมากมาย แต่เท่าที่พบด้วยตัวเองก็จะประมาณนี้ **

หลังจากนั้นผู้สัมภาษณ์จะเล่าเกี่ยวกับบริษัทของเขา เช่น ลักษณะธุรกิจ เปิดมากี่ปีแล้ว บริษัทแม่อยู่ที่ไหน วัตถุประสงค์ อื่นๆ แล้วก็จะวกเข้ามาที่ตำแหน่งที่เราสมัครว่า ทำไมเขาจึงมีความต้องการรับคนเข้าทำงานในตำแหน่งนี้ ซึ่งคุณนายไม่สามารถเขียนบรรยายได้เพราะมันมากมาย ... เอาเป็นว่าเขาจะถามเราแล้วหล่ะว่า

Q : Do you have any questions?
Any questions?
About our business, do you have a questions?

ซึ่งถ้าเราไม่แน่จัย ก็ให้บอกว่า

A : No, I will have more question after I’ll see you again. ยังไม่มีตอนนี้ เอาไว้ร่วมงานกันแล้วมีแน่ๆ ประมาณนั้น

หรือถ้าเราเกิดสงสัยต่างๆ ก็ตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับตัวงาน เพื่อให้เขารู้สึกว่า เราสนจัย

A : How many staffs are working in this section? มีพนักงานทำงานตำแหน่งนี้กี่คน


**
ถ้าเราไม่มีคำถามแล้ว เขาอาจจะปิดการสัมภาษณ์ **

Q : Well,we will need to talk together then will give you feedback later.
We will call you later.
We will get back to you as soon as possible.
**
อีกมากมาย **
A : Yes .. Thank you very much I will look forward to hear from you
ขอบคุณ ฉันจะรอ .. ในที่นี่หมายถึง โทรศัพท์

Q : Sure .. thanks for coming แน่นอน .... ขอบคุณที่แวะมา

A : Thanks for your time and opportunity ขอบคุณที่ให้โอกาศและเสียสละเวลามาสัมภาษณ์


Q : Have a nice day … Goodbye / Goodluck

A : Thanks , same to you .. ถ้าเราไม่อยากพูดยาว หรือไม่ก็พูดเหมือนเขานั่นแหละ


เอาหล่ะ .. คงจะได้ไอเดียกันบ้าง คุณนายไม่ได้ลอกที่ไหนมานะพยายามเขียนออกจากประสบการณ์( ที่นานมาแล้ว ) มาแบ่งปันกันเผื่อว่าจะได้เป็นแนวทางให้เพื่อนๆได้ลองศึกษาดูและนำไปใช้ใน แบบที่ตัวเองถนัด.. สำหรับการตั้งคำถามของผู้สัมภาษณ์ เท่าที่สัมผัสมา มันไม่น่าจะเกินนี้ ยิ่งถ้าเป็นคนไทยสัมภาษณ์หล่ะก็ จะเป็นอย่างนี้เลยแต่ถ้าเป็นฝรั่งก็อาจจะมีนอกเหนือแต่ก็ไม่ออกนอกโลกไปมาก มาย ถ้าเราไม่เข้าจัยในคำถามหรือฟังไม่ทัน เราสามารถบอกเขาได้เลยว่า

- Pardon me / excuse me can u repeat it again? ขอโทษนะ พูดอีกทีได้ไหม
- Sorry, I can’t catch it, can you speak slowly?
ขอโทษนะฟังไม่ทัน พูดช้าๆหน่อยได้ไหม
- Sorry , think my Eng is not so good, can you speak again please?
ขอโทษนะภาษาไม่ค่อยดีพูดอีกทีได้ไหม

Q:สวัสดีครับ
A:
สวัสดีครับ


Q:
ผมอยากให้เล่า้เกี่ยวกับตัวเองหน่อย
A:
ผมชื่อนายสิทธิวัธ ประเสิร์ฐนอก จบจากมหาลัยสยาม ประสบการณ์ทำงานบัญชี 4 ปี งานอดิแรก อ่านหนังสือ

Q:
เล่าเกี่ยวกับการทำงานให้ฟังหน่อยครับ
A:
ผมทำงานที่บริษัทอินเตอร์กรุ๊ป ในตำแหน่งบัญชี หน้าที่การทำงาน จัดเอกสาร

Q:
พูดภาษาอื่นได้บ้างไหมครับ
A:
ได้ครับ ภาษาจีนกลาง

Q:
ทำไมคุณถึงอยากทำงานที่นี่
A:
เพราะ บริษัทคุณมีระบบในการทำงานที่ดี และทราบว่าทางบริษัืทคุณได้เปิดโอกาศให้พนักงานแสงความสามารถได้อย่างเต็ม ที่ และยังรับฟังข้อเสนอของพนักงานทุกคน

Q:
ทำไมคุณจึงออกจากงานที่ทำอยู่
A:
ผมอยากเรียนรู้ในสายงานใหม่ที่น่าจะเหมาะกับตัวผมมากที่สุด

Q:
คุณคิดจะทำอะไรให้กับบริษัทมากที่สุด
A:
ผมสามารถช่วยบริษัทคุณได้ในเรื่องการจัดการเอกสาร และคัดแยกเอกสาร

Q:
ความใฝ่ฝันในอนาคต
A:
ผมตั้งใจว่าจะเปิดบริษัทเป็นของตัวเองแต่ถึงยังไงผมก็จะทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

Q:
คุณต้องการเงินเดือนเท่าไหร่
A:8,000
บาท ครับ

Q:
คุณมีข้อสงสัยอะไรไหม
A:
ไม่มีครับ

Q: Good….. ตอนไหนก็ใส่เอาครับ
A: Good….. ตอนไหนก็ใส่เอาครับ

Q: Please you tell me about yourself
A: My name is Sittiwat Prasertnok, I graduated from Siam University. I have 4 years experience in the accounting department. My hobby is reading.

Q: Please tell me about your ex-job.
A: I work as an accountant at Inter Group Company. My routine work was about documentary work.

Q: Can you speak other languages?
A: Yes, I can speak simplified Chinese.

Q: Why do you want to join our company?
A: Because your company has a good working system and I have heard that you company gives chances for the employees to show the ability as best and also open mind for employee’s opinion.

Q:Why did you leave your ex-work?
A:I would like to seek a work which it is fit for me.

Q:What benefit you can do for the company?
A:I could help about document sorting or disparity.

Q:What’s your dream job?
A:I want to establish my own company. Somehow, I have to achieve my assignments first.

Q:What about your expect salary?
A:I request for 8,000 Baht
Q:Any Question?
A: No more sir, mam คนสัมภาษณ์เป็นชายก็ sir เป็นหญิงก็ mam ครับ อย่าใช้สลับกันหละ