โพสต์ที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

AL: AL

AL: AL กฎหมายพิเศษ


ข้อเท็จจริงและประเด็นคำถาม:

ข้อเท็จจริง เมื่อประมาณ 11 ปีก่อน ทารกแรกเกิดคนหนึ่งถูกแม่ทอดทิ้งไว้ในห้องแถว เพื่อนบ้านที่อยู่ห้องแถวใกล้เคียงจึงเก็บมาเลี้ยง แต่เนื่องจากในขณะนั้นผู้ที่เก็บมาเลี้ยงยังไม่มีสัญชาติไทยจึงไม่กล้าที่จะ ไปแจ้งความหรือแจ้งเกิดให้กับเด็กคนนี้ ปัจจุบันคนที่เก็บเด็กมาเลี้ยงสามีได้สัญชาติไทยแล้ว แต่ภรรยายังไม่ได้สัญชาติไทย ส่วนเด็กคนนี้เรียนอยู่ชั้น ป.5 แล้ว แต่ยังไม่มีสถานะทางทะเบียนใดๆ เลย และเด็กไม่มีเอกสารหลักฐานการเกิดใดๆ เลย ส่วนพยานบุคคลที่จะบอกว่าเด็กคนนี้เป็นลูกใครนั้นยังหาไม่พบ และเนื่องจากห้องแถวเดิมนั้นถูกแปรสภาพไปแล้วพยานบุคคลที่อยู่ร่วมกับ เหตุการณ์ที่สามารถบอกได้ว่าสามีภรรยาคู่นี้เป็นคนเก็บเด็กมาเลี้ยงจึงยังหา ไม่พบเช่นกัน

ประเด็นคำถาม

  1. จะต้องดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เด็กมีสถานะทางทะเบียน
  2. เด็กจะมีโอกาสได้สัญชาติไทยหรือไม่
ความเห็นและข้อเสนอแนะ:

ข้อกฎหมาย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎรฯ มาตรา 19/1 เด็กที่ไม่ปรากฏบุพการี ถ้าเด็กยังไม่แจ้งการเกิดและไม่มีรายการบุคคลในทะเบียนบ้านให้หัวหน้านหน่วย งานที่อุปการะเด็กเป็นผู้แจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ หน่วยงานนั้นตั้งอยู่ และให้นายทะเบียนออกใบรับแจ้ง, มาตรา 19/2 การพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง กรณีไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติได้ ให้นายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนประวัติและออกเอกสารแสดงตนให้เด็กไว้เป็น หลักฐาน, มาตรา 20 เมื่อมีการแจ้งการเกิด ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรเป็นหลักฐานแก่ผู้ แจ้ง, กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กซึ่งถูกทอด ทิ้ง เด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้ง พ.ศ. 2551 ข้อ 2 ให้นายทะเบียนออกใบรับแจ้งให้แก่ผู้แจ้งพร้อมทั้งเรียกตรวจหลักฐานจากผู้ แจ้งและสอบสวนพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของ เด็กที่แจ้งการเกิด ทั้งพยานหลักฐาน ได้แก่ บันทึกการรับตัวเด็กที่จัดทำโดยเจ้าพนักงาน หลักฐานการรับตัวเด็กของหน่วยงาน รูปถ่ายเด็ก หลักฐานอื่น ๆ พยานบุคคล ได้แก่ ผู้แจ้งการเกิด เด็กที่ขอแจ้งการเกิด ผู้รู้เห็นการเกิดของเด็ก หรือบุคคลที่เด็กเคยอาศัยอยู่, พ.ร.บ.สัญชาติฯ มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดา ของผู้นั้นเป็นผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็น กรณีพิเศษเฉพาะราย หรือเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคน เข้าเมือง

การดำเนินการให้คำปรึกษา/ให้ความช่วยเหลือ

จากข้อเท็จจริงที่ได้รับมานั้น เด็กคนดังกล่าวเป็นเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการี คือ เด็กที่ไม่สามารถสืบหาบิดามารดาหรือญาติทางสายโลหิต ซึ่งตามกฎหมายแล้วต้องให้หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนที่ขึ้นทะเบียน เป็นสถานอุปการะเด็กเป็นผู้ทำหน้าที่อุปการะเด็ก บุคคลทั่วไปไม่มีสิทธิในการอุปการะเด็กโดยพลการ นอกจากนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรกำหนดให้มีเพียงเจ้าหน้าที่ของ หน่วยงานที่อุปการะเด็กเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิแจ้งการเกิดและแจ้งขอพิสูจน์ สัญชาติเด็ก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้อุปการะเด็กเป็นบุคคลทั่วไป ผู้อุปการะเด็กจึงไม่มีสิทธิในการแจ้งเกิดเด็กและแจ้งขอพิสูจน์สัญชาติ

ดังนั้นจึงแนะนำว่า ให้ผู้อุปการะเด็กพร้อมพยานที่ยืนยันได้ว่าเด็กเป็นผู้ถูกทอดทิ้งดำเนิน การพาเด็กไปแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในท้องที่ที่พบตัว เด็ก เมื่อเจ้าพนักงานได้รับตัวเด็กไว้แล้ว เด็กจะถูกส่งตัวเข้าไปในสถานรับอุปการะเด็ก หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานรับอุปการะจะต้องดำเนินการแจ้งเกิดเด็กคนดัง กล่าว เมื่อมีการแจ้งเกิดแล้วนายทะเบียนจะรับแจ้งการเกิดและออกสูติบัตรเป็นหลัก ฐานแก่ผู้แจ้ง ในขั้นตอนเดียวกันนี้จะต้องมีการพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กตาม ขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กซึ่งถูกทอด ทิ้ง เด็กเร่ร่อน หรือเด็กที่ไม่ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้ง พ.ศ. 2551เมื่อพิสูจน์แล้วเห็นว่าเด็กคนดังกล่าวมีสัญชาติไทย เด็กก็จะเป็นผู้มีสถานะทางทะเบียนตามกฎหมายไทยและได้รับการรับรองสัญชาติไทย แต่หากพิสูจน์แล้วพบว่าเด็กไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ได้สัญชาติไทย คือ เกิดจากบิดาและมารดาที่เป็นคนต่างด้าวที่มีพฤติการณ์ตามที่ปรากฏใน พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 7 ทวิ เด็กย่อมได้รับเพียงสถานะทางทะเบียน แต่การจะได้สัญชาติก็ต้องดำเนินการขอแปลงสัญชาติในภายหลัง

เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่แนะนำนี้ เด็กก็จะได้รับสถานะทางทะเบียน และอาจได้สัญชาติไทยทันที แต่เด็กก็จะอยู่ในอุปการะและอยู่ในการปกครองของหน่วยงานที่อุปการะเด็กไป ด้วย หากผู้ที่เคยอุปการะเด็กอยู่เดิมประสงค์จะอุปการะเด็กต่อไป ก็ต้องไปดำเนินการขอรับเด็กคนนี้เป็นบุตรบุญธรรมตามที่กำหนดระเบียบขั้นตอน ไว้ในกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

ทั้งนี้ หากท่านยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการขอรับสถานะทางทะเบียนและ พิสูจน์สัญชาติของเด็ก ท่านสามารถติดต่อสายด่วนกรมการปกครอง 1548 โดยเลือกติดต่อเจ้าหน้าที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น