โพสต์ที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

lumyong: lumyong

lumyong: lumyong
องค์กรอิสระคืออะไร

องค์กรอิสระ หมายถึง องค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษ ซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระ ปลอดพ้นจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐอื่นหรือสถาบันการเมืองอื่น รวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆ ที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

องค์กรอิสระ เป็นองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐความหวังของสังคมประชาธิปไตยเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีเสียงพูดถึงกันอย่างกว้างขวางในสังคมประชาธิปไตย
สำหรับความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรอิสระ ได้แก่

1. ความจำเป็นต้องมีกลไกคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยองค์กรฝ่ายตุลาการ ซึ่งมุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ตามหลักของนิติรัฐในการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิดจากการกระทำของรัฐหรือเจ้า หน้าที่ของรัฐตามหลักของนิติรัฐในการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทาง ปกครอง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิดจากการกระทำของบุคคลใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและทางแพ่ง นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีกลไกที่มิใช่องค์กรฝ่ายตุลาการ ซึ่งก็คือ องค์กรอิสระเพื่อเยียวยาปัญหาของประชาชน จากการใช้อำนาจรัฐหรือการกระทำของบุคคล และการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน เนื่องจากการใช้กลไกทางศาลอาจมีข้อจำกัดบางประการเพราะจะต้องใช้ระยะเวลาพอ สมควรในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล รวมไปถึงการทีจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องและการดำเนินคดี ในศาลด้วย
2. ความจำเป็นต้องมีกลไกตรวจสอบเกี่ยวกับความสุจริตในการใช้อำนาจรัฐและตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินภาครัฐ

3. ความจำเป็นต้องมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบที่จะลดและขจัดการซื้อเสียง และเปิดโอกาสให้คนดี มีคุณภาพ คุณธรรม เข้าสู่ระบบการเมือง
4. ความจำเป็นต้องมีกลไกในการเสริมสร้างระบบการเมืองและพรรคการเมืองที่มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

5. ความจำเป็นต้องมีกลไกที่มีความเป็นอิสระ และเป็นกลาง สามารถดำรงความยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่

ความเป็นอิสระ
- อิสระในเรื่องที่มาและการเข้าสู่อำนาจของบุคคลที่เข้าทำหน้าที่ในองค์กรอิสระ
- อิสระในเรื่องการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานขององค์กร
- อิสระในเรื่องงบประมาณ
- มีหน่วยธุรการหรือสำนักงานที่เป็นอิสระ
ความเป็นกลาง
- ไม่เป็นฝักฝ่ายในทางการเมือง
- ปราศจากอคติ ไม่ลำเอียง เพราะรัก โกรธ หลง กลัว
ดำรงความยุติธรรม
- มีความเที่ยงธรรม
- มีความชอบธรรม
- มีความชอบด้วยเหตุผล


คณะกรรมการการเลือกตั้ง

องค์ประกอบ

ประธาน กรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมือง และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

    การสรรหา

(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 7คน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือกจำนวน 1 คน และบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือกจำนวน 1 คน ทำหน้าที่สรรหาบุคคลซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จำนวน 3 คน

(2) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาสรรหาบุคคลซึ่งสมควรเป็นกรรมการการเลือกตั้งจำนวน 2 คน

(3) ที่ประชุมวุฒิสภามีมติให้ความเห็นขชอบผู้ได้รับการสรรหาตาม (1) และ (2)วาระดำรงตำแหน่ง 7 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระ เดียว

    อำนาจหน้าที่

ควบ คุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้งหรือการสรรหาสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งการออกเสียงประชามติ ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม


กกต

องค์ประกอบ

.

ประธาน กรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีความชำนาญ และประสบการณ์ด้านการตรวจเงินแผ่นดิน การบัญชี การตรวจสอบภายใน การเงินการคลัง และด้านอื่น

การสรรหา

(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหาจำนวน 7 คน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่สรรหาบุคคลซึ่งสมควรเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จำนวน 7 คน

(2) ที่ประชุมวุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาตาม (1)

วาระดำรงตำแหน่ง

6 ปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

อำนาจหน้าที่

กำหนด หลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ให้คำปรึกษา แนะนำ และเสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน และมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการวินัยทางการเงินและการคลังที่เป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยการดำเนินการที่เกี่ยวกับวินัยทางการเงิน การคลังและการงบประมาณ และให้คดีที่พิพาทเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินัยทางการเงิน และการคลังในเรื่องดังกล่าวเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง




ผู้ตรวจการแผ่นดิน

องค์ประกอบ

ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีจำนวนสามคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของประชาชน มีความรอบรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน วิสาหกิจ หรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสาธารณะ และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

ให้ผู้ได้รับเลือกเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ

การสรรหา

(1) ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

(2) ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาและผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา

วาระดำรงตำแหน่ง

ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีวาระการดำรงตำแหน่งหกปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

อำนาจหน้าที่

(1) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี

(ก) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น

(ข) การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม

(ค) การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม

(ง) กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 271

(3) จัดทำรายงานพร้อมทั้งเสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา ทั้งนี้ ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย

การใช้อำนาจหน้าที่ตาม (1) (ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาดำเนินการเมื่อมีการร้องเรียนจากผู้เสียหาย เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีผล กระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอาจพิจารณาและสอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้

องค์กรอัยการ


(ขอบคุณ รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ
์ จากเวบไซ์อัยการสูงสุด)

ความเป็นมา
วันที่ 24 สิงหาคม 2550 ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 255 ได้บัญญัติให้ องค์กรอัยการ เป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ กำหนดให้พนักงานอัยการ มีอำนาจหน้าที่ตามที่ บัญญัติในรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมายอื่น โดยให้มีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม การแต่งตั้งและการให้ อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของคณะกรรมการอัยการ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา
ผลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ดังกล่าว เป็นการยกฐานะสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นองค์การอื่นตามรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาและกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ทั้งเป็นการยกฐานะตำแหน่ง อัยการสูงสุดให้เป็นองค์การอื่นตามรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาและกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โดยต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา ทั้งเป็นการยกฐานะตำแหน่ง อัยการสูงสุด

ให้เทียบเท่ากับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา เป็นครั้งแรก

การสรรหา

การแต่งตั้งและการให้อัยการสูงสุดพ้นจากตำแหน่งต้องเป็นไปตามมติของคณะกรรมการอัยการ และได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่

ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมายอื่น


คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

องค์ประกอบ

ประธาน กรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นที่ประจักษ์

การสรรหา

(1) ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวน 7 คนประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร บุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาคัดเลือก 1 คนและบุคคลซึ่งที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดคัดเลือก 1 คน ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกผู้ที่สมควรเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จำนวน 7 คน

(2) ที่ประชุมวุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการสรรหาตาม (1)

วาระการดำรงตำแหน่ง

6 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

อำนาจหน้าที่

ตรวจ สอบ ประเมินสถานการณ์ และรายงานการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนปกป้องคุ้มครองประชาชนไม่ให้ ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็มนุษย์


ขอบคุณ ตราสัญลักษณ์จาก http://www2.nesac.go.th/nesac/th/home/)

ความเป็นมา
เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 89 ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมและเศรษฐกิจ
เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2542 รัฐบาลจึงมอบให้คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 20 คนจากสาขาอาชีพต่างๆ ยกร่าง
พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น ซึ่งในที่สุดประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2543 และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป

องค์ประกอบ ที่มา และการดำเนินงาน

ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

อำนาจหน้าที่

ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


1 ความคิดเห็น: