โพสต์ที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

lumyong

lumyong

การใช้คำว่า รัฐธรรมนูญ (Constitution) มักสับสนกับคำว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ(Constitutional Law) จนดูเหมือนจะเป็นคำเดียวกัน ทว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว ทั้งสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ รัฐธรรมนูญนั้นเป็นชื่อเฉพาะของกฎหมายประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา อันย่อมแสดงความเป็นกฎหมายอยู่ในตัวโดยไม่ต้องเติมคำว่ากฎหมาย นำหน้าอีก ตัวอย่างเช่น การที่เราเรียกว่า พระราชบัญญัติ หาใช่ กฎหมายพระราชบัญญัติ แต่อย่างใด

แต่รัฐธรรมนูญเป็นชื่อเฉพาะของกฎหมายที่มีความสำคัญยิ่งกว่ากฎหมายประเภทอื่น เพราะมีฐานะเป็นกฎหมายสูงสุด สำหรับวางระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับรัฐว่าด้วย ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อทำหน้าที่แบ่งแยกกันออกไป โดยปกติแล้ว รัฐธรรมนูญต้องตราขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นชื่อรวมใช้เรียกกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันการเมือง คือกฎหมายสาขามหาชนที่ว่าด้วยสถาบันการเมืองต่างๆ ของรัฐ ซึ่งรวมทั้งรัฐธรรมนูญ กฎมณเฑียรบาล จารีตประเพณีทางการเมือง และกฎหมายอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญอาจจะไม่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ถึงแม้ว่าอังกฤษจะไม่มี รัฐธรรมนูญ (หรือ อาจพูดว่า มี แต่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร) แต่ก็มี กฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ แม้แต่จารีตประเพณีทางการเมืองของไทย เช่น กระบวนการสรรหานายกรัฐมนตรี เป็นต้นhttp://e-learning.mfu.ac.th/mflu/1604101/image/8.gif ในทางทฤษฎีถือว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของหลักการ และเป็นคำที่กว้าง มากกว่า รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นคำที่แคบ และเป็นเรื่องของกฎหมายประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ อนึ่งโปรดสังเกตด้วยว่าชื่อวิชาที่ใช้เรียนและเรียกกันอยู่ทั่วไป คือ ชื่อวิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญ แต่อย่างใด

ตอกย้ำด้วยการที่แม้แต่ใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เอง ก็ได้ให้นิยามของคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ เอาไว้เป็นการเฉพาะ แยกต่างหากจากคำว่า รัฐธรรมนูญ อันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง กฎหมายรัฐธรรมนูญ กับ รัฐธรรมนูญ ได้ดียิ่งขึ้น ตามนิยามดังกล่าว กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่มีวัตถุประสงค์ในการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตย และการดำเนินงานของสถาบันสูงสุดของรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตยhttp://e-learning.mfu.ac.th/mflu/1604101/image/9.gif

โดยนัยนี้ การศึกษาวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ จึงเน้นการศึกษาถึงหลักเกณฑ์สำคัญๆ ทั่วๆ ไป ในทางทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยหยิบยกเอาบทมาตราใดๆ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือ รัฐธรรมนูญต่างประเทศ ตลอดจนกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งและพรรคการเมือง หรือ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอื่นๆ มาประกอบคำอธิบาย มากกว่าที่จะศึกษาถึงเฉพาะตัวบทรัฐธรรมนูญ โดยการหยิบยกเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาศึกษาโดยเฉพาะเจาะจง แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ตลอดจน ศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ เครืองาม ในฐานะนักกฎหมายมหาชน ก็มีความเห็นว่า คำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ ต่างกับ คำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ ถ้าเปรียบเทียบคำแรกว่าเป็นเอกเทศสัญญา คำหลังก็เป็นเพียงกฎหมายเช่าซื้อ เช่าทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอกเทศสัญญาเท่านั้น โดยท่านได้สรุปความหมายและลักษณะของ รัฐธรรมนูญ เอาไว้อย่างชัดเจน สามารถเข้าใจได้โดยง่ายว่า

ดร.วิษณุ เครืองาม

ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ในรัฐบาล พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งได้รับมอบหมาย ให้กำกับดูแลหน่วยงานบางหน่วยในสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานในกระทรวงคมนาคม กระทรวงยุติธรรม และพลังงาน

ดร.วิษณุ เครืองาม


กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญมีความหมายและลักษณะดังนี้
1) สถานะ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศในขณะนั้นๆ แต่ได้กล่าวแล้วว่า ชื่ออาจเรียกต่างๆ กันออกไปได้ เช่น ในภาษาไทยเราเคยเรียกว่า รัฐธรรมนูญ ธรรมนูญการปกครอง ในภาษาอังกฤษก็มีที่เรียกต่างกันออกไป เช่น Constitution, Basic Law, Fundamental Law เป็นต้น
2) ลักษณะ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีชื่อ หรือ ศัพท์ที่ใช้เรียกให้เห็นว่าต่างจากกฎหมายธรรมดาอื่นๆ
3) สาระ ว่าด้วยกฎเกณฑ์การปกครองประเทศ

กล่าวโดยสรุป รัฐธรรมนูญซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Constitution (คอนสติติวชั่น) คือ กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งได้กำหนดการจัดระบบการปกครองของ ประเทศ และรับรองสิทธิเสรีภาพบางประการของประชาชนหรือพลเมืองเอาไว้ การที่กล่าวเช่นนี้เป็นเพราะว่า รัฐธรรมนูญมีลักษณะการบังคับใช้เหนือกฎหมายธรรมดา กล่าวคือ รัฐธรรมนูญนั้นเป็นแม่บทของการบัญญัติกฎหมายต่างๆ เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดแย้งกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นย่อมถือเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับโดยสิ้นเชิง ซึ่งโดยทั่วๆ ไปแล้ว จะบัญญัติรากฐานสำคัญในการปกครองประเทศไว้ คือ รูปแบบการปกครอง ที่มาของอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศใน 3 ด้าน คือ อำนาจนิติบัญญัติ (legislature) อำนาจบริหาร (executive) และอำนาจตุลาการ (judiciary) ซึ่งมีรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามลำดับ เป็นสถาบันผู้ที่ใช้อำนาจดังกล่าวแทนประชาชน ตลอดจนรัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับ สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมือง อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น